วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551

กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย
จุดเริ่มกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย
เริ่มวันที่ 15 ธันวาคม 2541 "คณะกรรมการเทคโนโลยีีีีสารสนเทศแห่งชาติ" เรียกโดยย่อว่า "กทสช"
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยกฎหมาย 6 ฉบับ ได้แก่
1. กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีการวางนดยบายและกำหนดหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในทางการค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศ
2. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับสถานะทางกฎหมายการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อระบุหรือยืนยันตัวบุคลโดยคำนึงถึงความเป็นกลางและความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี
3. กฎหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อรองรับแนวนโยบายพื้นฐานในการพัฒนาชุมชนและการกระจายสารสนเทศให้เท่าเทียมกันและทั่วถึงทั้งประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้
4.กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล เพื่อวางหลักเกณฑ์การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคล เช่น ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ กำหนดสิทธิให้คุ้มครองข้อมูลส่วน
บุคลที่อาจถูกนำไปประมวลผลเผยแพร่ในทางมิชอบซึ่งจะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ
5.กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยในยุคคอมพิวเตอร์ เป้นการกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำความผิดต่อระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล ระบบเครือข่าย
6.กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อกำหนดสิทธิหน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างบุคลฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย
ปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามยุคสมัย ซึ่งมีการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากมายทั่วโลก แต่ถ้าหากนำไปใช้ในทางมิชอบก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงซึ่งอาจประเมินค่ามิได้ หรือส่งผลกระทบที่ร้ายแรงแก่ประชาคมโลก และได้เกิดรูปแบบใหม่ของอาชญากรรมที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด หลายด้านเช่น หยุดการทำงาน (Interruption) ลักลอบข้อมูล (Interception) แก้ไขข้อมูล (Modification) และ สร้างข้อมูลปลอม (Fabrication) บนระบบเครือข่าย และการปล่อยไวรัสเข้าสู่ระบบ รวมไปถึงการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นไม่ว่าทางใดก็ตาม เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา “กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)” หรือที่บางประเทศเรียกว่า “กฎหมายเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบ(Computer Misuse Law)” ขึ้น หรือต้องมีการปรับแก้ประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันให้ทันสมัยเข้ากับการกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบขึ้นให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยประเทศต่างๆ ที่พัฒนาและออกกฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้บังคับแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น สิงค์โปร มาเลเซีย และ Council of Europe ได้ออก Convention on Cyber-Crime เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศต่างๆใช้กฎหมายบังคับในทิศทางเดียวกัน

สำหรับในประเทศไทย กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาร่างกฎหมายขึ้นเพื่อใช้บังคับ โดยสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (ไอที 2000) เพื่อพัฒนาสังคมและเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางด้านธุรกิจอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ ในการก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจใหม่ แห่งศตวรรษที่ 21 โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญของนโยบายดังกล่าว คือ การปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ดำเนินโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และให้คณะกรรม-การฯ เป็นศูนย์กลางดำเนินการและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่กำลังดำเนินการจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็น เลขานุการคณะกรรมการฯ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้ดำเนินโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยกฎหมาย 6 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (เดิมเรียกว่า “กฎหมายแลกเปลี่ยน ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์”) กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ต่อมาได้มีการรวมหลักการเข้ากับกฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และรวมเรียกชื่อเดียวว่า “กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์”) กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและ เท่าเทียมกัน (เดิมเรียกว่า “กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78”) กฎหมายเกี่ยวกับการ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ และกฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ อนึ่ง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงานของโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการยกร่าง กฎหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง 6 ฉบับข้างต้น คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เฉพาะกิจขึ้นมา 6 ชุด ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจาก สาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ การเงินการธนาคาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่ใน การพิจารณายกร่างกฎหมายโดยมี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติเป็นเลขานุการในการยกร่างกฎหมาย
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมของกฎหมายเทคโนโลยีในประเทศไทยได้ที่
http://www.ictlaw.thaigov.net/

อ. นรินทร์ พนาวาส ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ และอาจารย์ประจำภาควิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะสารสนเทศศาสตร์


วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2551

การสร้างจดหมายเวียน (Mail Merge)

การสร้างจดหมายเวียน (Mail Merge) ด้วย Microsoft Word

สำหรับเนื้อหาส่วนนี้ขอนำเสนอการสร้างจดหมายเวียนด้วย Microsoft word โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “ตัวช่วยสร้างจดหมายเวียน” ซึ่งเครื่องมือที่จะแนะนำนอกจากจะช่วยสร้างจดหมาย แล้วยังสามารถสร้างเอกสาร ซองจดหมาย หรืออีเมล์สำหรับส่งไปยังผู้รับหลายๆ คนได้อีกด้วย เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มต้นสร้างจดหมายเวียนกันเลยดีกว่า
Step 0 : Open Microsoft Word แล้วเลือกเมนู เครื่องมือ --> จดหมายและเมล์ --> ตัวช่วยสร้างจดหมายเวียน










Step 1 : Select document type - จะแสดงบานหน้าต่างงานดังภาพ จากนั้นให้นิสิตเลือกชนิดของเอกสารที่ตัวเลือกแรกคือ จดหมาย (ภายในกรอบสีแดง) และไปยังขั้นตอนถัดไปของตัวช่วยสร้างจดหมายเวียน (คลิก “ถัดไป : เริ่มต้นเอกสาร” ภายในกรอบสีน้ำเงิน)

Step 2 : Starting document – ให้นิสิตสร้างเอกสารแบบฟอร์มจดหมายลงบนพื้นที่พิมพ์ และในส่วน Select starting document เลือก Use the current document และไปยังขั้นตอนถัดไปสำหรับการเลือกผู้รับ (คลิกที่ Next : เลือกผู้รับ)

Step 3 : Select Recipients – ภายใต้ตัวเลือก 3 ตัว
เลือกได้แก่ สร้างจากรายการที่มีอยู่, สร้างรายการใหม่ หรือ
ที่อยู่ติดต่อจาก Outlook ให้นิสิตเลือก สร้างรายการใหม่ และ
ในส่วนของสร้างรายการใหม่ คลิกที่ “สร้าง” จะปรากฏหน้าจอ
สำหรับกรอกข้อมูลต่างๆ ให้นิสิตป้อนข้อมูลในช่อง First Name,
Last Name หรืออื่นๆ ที่จำเป็น เช่น ชื่อบริษัท ที่อยู่ เป็นต้น หาก
ต้องการป้อนข้อมูลระเบียนถัดไปให้คลิกที่ปุ่ม “New Entry –
ข้อมูลใหม่” เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม “Close - ปิด” จาก
นั้นให้ทำการบันทึกไฟล์รายการที่อยู่


Step 4 : Write your letter – ในขั้นตอนนี้เป็นการแทรกขอบเขตของข้อมูลลงบนฟอร์มจดหมาย โดยคลิกที่ตำแหน่งที่ต้องการแทรกขอบเขตข้อมูล บนเอกสารฟอร์มจดหมายก่อน จากนั้นคลิกที่ “More items - รายการเพิ่มเติม” แล้วเลือกขอบเขตข้อมูลที่จะจัดวาง พร้อมคลิกปุ่ม “Insert - แทรก” ทำเช่นนี้จนครบทุกขอบเขตข้อมูล จึงไปยังขั้นตอนถัดไป
Step 5 : Preview your letters – เป็นขั้นตอนในการตรวจสอบเอกสารหลังจากการผสานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว หากต้องการแก้ไข ก็สามารถย้อนกลับไปยังขั้นตอนต่างๆ ได้
Step 6 : Complete the Merge – เป็นขั้นตอนสุดท้ายสำหรับการสร้างจดหมายเวียน ในส่วนของการผสาน สามารถเลือกการกระทำได้จาก 2 ตัวเลือก ได้แก่ พิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ หรือแก้ไขจดหมาย สำหรับนิสิตให้เลือก
“Edit individual letters - แก้ไขจดหมาย” จากนั้นเลือก “All - ทั้งหมด” แล้วคลิกปุ่ม “OK - ตกลง” สุดท้ายให้ทำการบันทึกไฟล์ตั้งชื่อ “letter-รหัสนิสิต.doc” แล้วส่งงานผ่านเว็บไซต์ของอาจารย์ (ดูคำสั่งในใบงานจากเว็บไซต์)

แนะนำหลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจ


โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ
แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
Bachelor of Business Administration Program in Business Computer
ชื่อปริญญา ชื่อเต็ม : ปริญญาการบริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
Bachelor of Business Administration (Business Computer)
ชื่อย่อ : บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
B.B.A. (Business Computer)

จุดประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารธุรกิจระดับวิชาชีพ (Professional) ในวิชาบริหารธุรกิจเฉพาะทาง ในวิชาการด้าน ต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบเศรษฐกิจและสังคม สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ ดำเนินธุรกิจได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
3. เพื่อผลิตบุคลากรที่สามารถติดตามและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีฯ และการบริหารธุรกิจในงานอาชีพ
4. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีเจตคติและค่านิยมในการประกอบอาชีพอิสระอย่างมีคุณภาพ จริยธรรม และปัญญาธรรม
คุณสมบัติเฉพาะโปรแกรมวิชา
โครงสร้างหลักสูตร
มีหน่วยกิตการเรียนตลอดหลักสูตรในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจไม่น้อยกว่า 73 หน่วยกิต และมีสัดส่วนหน่วยกิต แต่ละหมวดวิชาและแต่ละกลุ่มวิชา ดังนี้
1. หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 18 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 49 หน่วยกิต
3. หมวดเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต


ข้อมูลเพิ่มเติม


วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551

การสร้าง blog ด้วย blogger

บล็อก คืออะไร
บล็อกเป็นไดอารีส่วนบุคคล ห้องฟังเทศน์ พื้นที่สำหรับความร่วมมือ เวทีแสดงออกทางการเมือง ห้องกระจายข่าว การเก็บรวบรวมลิงก์ ความคิดส่วนตัวของคุณ บันทึกสำหรับคนทั่วโลก
บล็อกของคุณจะเป็นอะไรก็ได้ตามที่ใจต้องการ เรามีบล็อกนับล้าน ทุกรูปแบบและทุกขนาด และไม่มีกฎตายตัว
กล่าวง่ายๆ บล็อกก็คือเว็บไซต์ ซึ่งคุณสามารถเขียนเรื่องต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง เรื่องใหม่จะปรากฏด้านบนสุด เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมสามารถอ่านสิ่งที่มาใหม่ จากนั้นจะสามารถแสดงความคิดเห็นหรือสร้างลิงก์ หรือส่งอีเมลถึงคุณ หรือไม่ทำอะไรเลย
นับตั้งแต่ Blogger เปิดตัวในปี ค.ศ. 1999 บล็อกก็ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของเว็บ สร้างผลกระทบต่อการเมือง เขย่าวงการสื่อสารมวลชน และทำให้คนนับล้านได้แสดงออกและติดต่อกับบุคคลอื่น
และเรามั่นใจว่าทั้งหมดนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น


ผยแพร่ ความคิดของคุณ
บล็อกเป็นกระบอกเสียงของคุณเองในเว็บ และเป็นพื้นที่สำหรับเก็บและแลกเปลี่ยนสิ่งที่คุณสนใจ — ไม่ว่าจะเป็นความเห็นเกี่ยวกับการเมือง ไดอารีส่วนบุคคล
หรือลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่คุณต้องการจดจำ
ผู้คนจำนวนมากใช้บล็อกเพื่อจัดระเบียบความคิดของตัวเอง ในขณะที่บางคนมีผู้ฟังนับพันที่มีอิทธิพลจากทั่วโลก นักสื่อสารมวลชนมืออาชีพและสมัครเล่นใช้บล็อกเพื่อเผยแพร่ข่าว ส่วนนักเขียนบันทึกส่วนบุคคลใช้บล็อกเพื่อแสดงความคิดของตน
ไม่ว่าคุณอยากจะบอกอะไร Blogger ช่วยคุณพูดสิ่งนั้นได้


ชักชวน เพื่อนเข้าร่วม
Blogging ไม่ใช่แค่การแสดงความคิดของคุณบนเว็บเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการติดต่อและรับฟังบุคคลอื่นที่อ่านผลงานของคุณและใส่ใจที่จะตอบสนอง เมื่อใช้ Blogger คุณจะสามารถควบคุมว่าใครสามารถอ่านและเขียนในบล็อกของคุณ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเพื่อนสนิทหรือคนทั้งโลก!
ความคิดเห็นของ Blogger ให้ทุกคนจากทุกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความของคุณ คุณสามารถเลือกว่าจะยอมให้มีความคิดเห็นสำหรับแต่ละบทความหรือไม่ และคุณสามารถลบความคิดเห็นใดก็ตามที่คุณไม่ชอบได้
การควบคุมการเข้าถึง ช่วยให้คุณสามารถเลือกว่าผู้ใช้คนใดสามารถอ่านหรือเขียนข้อมูลในบล็อกของคุณ คุณสามารถใช้บล็อกของกลุ่มที่มีผู้เขียนหลายคนเป็นเครื่องมือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสำหรับทีมขนาดเล็ก ครอบครัว และกลุ่มอื่นๆ หรือในฐานะผู้เขียน คุณสามารถสร้างพื้นที่ออนไลน์ส่วนบุคคลสำหรับการเก็บรวบรวมข่าวและความคิดต่างๆ เพื่อเก็บไว้เอง หรือแลกเปลี่ยนกับผู้อ่านได้มากตามที่คุณต้องการ
ข้อมูลส่วนตัวใน Blogger ช่วยให้คุณสามารถค้นหาบุคคลและบล็อกที่มีความสนใจร่วมกับคุณได้ ข้อมูลส่วนตัว Blogger ของคุณ ซึ่งเป็นที่ที่คุณแสดงบล็อก ความสนใจ และอื่นๆ จะช่วยให้บุคคลอื่นหาคุณพบ (เฉพาะในกรณีที่คุณยินยอมให้ค้นหาได้)

ออกแบบ บล็อกของคุณ
ไม่ว่าคุณจะเริ่มต้นบล็อกของคุณ หรือคิดว่าได้เวลาเปลี่ยนโฉมหน้าของบล็อกที่มีอยู่แล้ว เครื่องมือแก้ไขที่ใช้งานง่ายของ Blogger จะช่วยให้คุณสามารถออกแบบหน้าเว็บที่มีรูปลักษณ์น่าสนใจได้อย่างง่ายดาย
แม่แบบ — แม่แบบที่เรามีจะช่วยให้คุณเริ่มต้นด้วยไซต์ที่น่าสนใจได้ทันที โดยไม่ต้องเรียนรู้ HTML แม้ว่า Blogger จะยอมให้คุณแก้ไขรหัส HTML ของบล็อกเมื่อใดก็ได้ที่ต้องการ
สีและแบบอักษรที่กำหนดเอง — เมื่อคุณพร้อมที่จะดำเนินการในขั้นถัดไป คุณสามารถตั้งค่าแม่แบบเพิ่มเติม เพื่อสร้างการออกแบบที่สะท้อนถึงตัวคุณและบล็อกของคุณได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ลากและวางองค์ประกอบของหน้า — ระบบลากและวางที่แสนสะดวกของ Blogger ช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจว่าจะให้บทความ ข้อมูลส่วนตัว คลังบทความ และส่วนอื่นๆ ของบล็อกอยู่ที่ใดในหน้า

ส่ง รูป
บางครั้งคุณเพียงอยากแสดงรูปภาพ ในอินเทอร์เฟซของ Blogger มีปุ่มสำหรับการอัพโหลดรูปภาพ เพียงคุณคลิกปุ่มรูปภาพเพื่ออัพโหลดภาพถ่ายจากคอมพิวเตอร์ของคุณ ถ้าภาพถ่ายที่คุณต้องการวางในบล็อกนั้นอยู่ในเว็บอยู่แล้วก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยบอกเราว่าภาพนั้นอยู่ที่ใด
คุณสามารถส่งภาพถ่ายจากกล้องโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปยังบล็อกของคุณโดยตรง ขณะที่คุณกำลังเดินทาง ด้วย Blogger Mobile



ที่มา :
http://www.blogger.com/